ละคร
ละคร คือ รูปแบบการแสดงที่ดำเนินเรื่องราว เป็นศิลปะที่อาจเกิดจากการนำภาพจากจินตนาการ ประสบการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ มาผูกเป็นเรื่อง มีเหตุการณ์เชื่อมโยงเป็นตอนๆ ตามลำดับ โดยดำเนินเรื่องราวจากผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมายต่อผู้ชม
ละครไทยเป็นละครที่มีรูปแบบการแสดงหลายลักษณะวิวัฒนาการตามยุคสมัยจัดประเภทละครไทยได้ ดังนี้
1. ละครรำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ละครรำแบบดั้งเดิม ( ละครรำโบราณ ) ได้แก่ ละคร ชาตรี ละครนอก และละครใน
1.2 ละครรำแบบปรับปรุง ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง และละครเสภา
2. ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่ ละครร้อง ละครสังคีต และละครพูด ละครอิงประวัติศาสตร์ ละครเพลง ละครเวที ละครวิทยุ ละครโทรศัพท์
![à¹à¸à¸£à¸à¸à¸²à¸ - à¸à¸²à¸à¸¨à¸´à¸¥à¸à¹à¹à¸à¸¢](https://sites.google.com/site/mintkrongkan41/_/rsrc/1425391130698/khorng-ngan/%E0%B8%A3%E0%B8%B3.jpg)
1) ละครรำ เป็นละครประเภทที่ใช้ศิลปะการร่ายรำดำเนินเรื่อง มีการขับร้องและเจรจา เป็นกลอนบทละคร ละครรำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ละครรำแบบดั้งเดิม ( ละครรำโบราณ ) ได้แก่
1.1.1 ละครชาตรี ถือว่า เป็นต้นแบบของละครรำ นิยมใช้ ผู้ชายแสดง มีตัวละคอน 3 ตัว คือ ตัวพระ ตัวนาง และเบ็ดเตล็ด
1.1.2 ละครนอก ดัดแปลง มาจากละคร ชาตรี เป็นละครที่เกิดขึ้นนอกพระราชฐาน เป็นละครที่คนธรรมดาสามัญนิยมเล่นกัน ผู้แสดงเป็นชายล้วน ไม่มีฉากประกอบ นิยมเล่นกันตามชนบทท่ารำและเครื่องแต่งกายไม่ค่อยพิถีพิถัน เรื่องที่ใช้แสดงละครนอกเป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ
1.1.3 ละครใน เป็นละครไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงดัดแปลงมาจากละครนอก ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน และแสดงในพระราชฐานเท่านั้น การแสดงละครไทยในมีความประณีตวิจิตรงดงาม ท่ารำต้องพิถีพิถันให้มีความอ่อนช้อย
1.2 ละครรำแบบปรับปรุง ได้แก่
1.2.1 ละครดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นำแบบอย่างมาจากละครโอเปร่า (Opera) ของยุโรป ลักษณะการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ ผู้แสดงร้องและรำเอง ไม่มีการบรรยายเนื้อร้อง ผู้ชมต้องติดตามฟังจากการร้องและบทเจรจาของผู้แสดง
1.2.2 ละครพันทาง เกิดหลังละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครรำแบบละครนอกผสมละครในมีศิลปะของชาติต่าง ๆ เข้ามาปะปนตามท้องเรื่อง ทั้งศิลปะการร้อง การรำ และการแต่งกาย ผสมกับศิลปะไทย โดยยึดท่ารำไทยเป็นหลัก นิยมแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับต่างชาติ
1.2.3 ละครเสภา เป็นละครที่ดำเนินเรื่องด้วยการรำประกอบบทร้องและบทขับเสภา มีเครื่องประกอบจังหวะพิเศษคือ “ กรับเสภา ” เรื่องที่นิยมแสดง มักจะนำมาจากนิทานพื้นบ้าน
![à¸à¸²à¸£à¹à¸ªà¸à¸à¸¥à¸°à¸à¸£à¹à¸ªà¸ า à¹à¸£à¸·à¹à¸à¸à¸à¸¸à¸à¸à¹à¸²à¸à¸à¸¸à¸à¹à¸à¸ à¸à¸¸à¸à¸à¸¸à¸à¹à¸à¸à¸à¸¶à¹à¸à¹à¸£à¸·à¸à¸à¸à¸¸à¸à¸à¹à¸²à¸ ...](https://i.ytimg.com/vi/xJ3WeAyOkpo/maxresdefault.jpg)
2) ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่
2.1 ละครร้อง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีท่ารำ ผู้แสดงจะต้องร้องเอง
2.2 ละครสังคีต คล้ายละครร้อง ต่างกันที่ละครสังคีตถือบทร้องและบทเจรจาเป็นสำคัญ เท่ากัน จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้
2.3 ละครพูด ดำเนินเรื่องด้วยการพูด ไม่มีการร้อง ผู้แสดงพูดเอง เป็นต้นแบบของละครวิทยุ ละครเวที และละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน
![ละà¸à¸£à¹à¸§à¸à¸µà¹à¸£à¸·à¹à¸à¸ "à¸à¸£à¸°à¸£à¹à¸§à¸ à¹à¸à¸à¸° มิวสิà¸à¸±à¸¥" à¹à¸à¸´à¸à¸à¸²à¸£à¹à¸ªà¸à¸à¹à¸¥à¹à¸§](https://img.bangkokbiznews.com/judprakai/upload/source/231A3040.jpg?1519898109211)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น