นาฏศิลป์
เป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรีของไทย เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่ แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิประเทศ ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละภาค
ประวัติศาสตร์นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทยเป็นการเล่นเครื่องดนตรีหลายๆชนิดการละครฟ้อนรำ
และดนตรี ต้องประกอบไปด้วย 3ประการ คือการฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง
รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้
เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์
นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง
ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข
หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhnBgmNK8UytBYbAuLuh043WISlD2W0ykaofH5qV0pKP_GnxDurZiBJ4nSe4lKmm580KPZgMcj8393eIFXi9C5uEjHAngjgZcUD3WFgYkME8Jk5ZMVNvAvF0bTQpWLEfU0M6IX2jAylsyk2/s320/Picture3.png)
ประเภทของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1 รำและระบำ หมายถึง เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดย ไม่เล่นเป็นเรื่องราว ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขปดังนี้
รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ ๑-๒ คน เช่นการรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งกายตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบท ขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน
ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ – นางหรือแต่งแบบนางในราชสำนัก
![Bloggang.com : à ¹â¬Ã ¸Âà ¸¨à ¸ªà ¸¸à ¸£à ¸´à ¸¢à ¸⡠: à ¸£à ¸°à ¸šà ¸³à ¸¨à ¸£à ¸µà ¸§à ¸´à ¹â¬Ã ¸£à ¸â¢Ã ¸âà ¸£](https://www.bloggang.com/data/r/rouenrarai/picture/1358865716.jpg)
2 ละคร หมายถึง เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่าทาง เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอกและละครใน
3 โขน หมายถึง เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่าโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ด้วยวงปี่พาทย์ นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพิธีสำคัญ ได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ
4 การแสดงพื้นเมือง หมายถึง เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ในเริ่มแรกนั้นเข้าใจว่าคงปรากฏในรูปแบบ การละเล่น หมายถึง การเล่นดนตรี การเล่นเพลง การเล่นรำ ส่วนการเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะการแสดงพื้นเมือง ซึ่งหมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ
![à¸à¸²à¸£à¹à¸ªà¸à¸à¸à¸·à¹à¸à¹à¸¡à¸·à¸à¸à¸ªà¸µà¹à¸ าà¸: à¸à¸²à¸£à¹à¸ªà¸à¸à¸à¸·à¹à¸à¹à¸¡à¸·à¸à¸à¸ªà¸µà¹à¸ าà¸](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiq_-zxLTgT_uoAOZADbOEOS2xQWhokJ8DvlHkSQQMpkTEz6z5Q8xiybCBXm_QI2tD8L6MjmC3qK0hl5PCgrSJPJHT4Z5o-CT0en8gc3XCEDRnwpy2mWdueIrgGL5VNCLUQB2bJY6KOjU6P/w443-h294/rum18.jpg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น