การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละภูมิภาค โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ
การแสดงพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และ พร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
การแสดงพื้นเมือง เป็นการแสดงเพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองโดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้
๑. การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ
๒. การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง
๓. การแสดงพื้นเมืองของอีสาน
๔. การแสดงพื้นเมืองของใต้
การแสดงพื้นเมืองภาค เหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่าง
ชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยลานนา ไทยใหญ่ รวมถึงพวกพม่าที่เคยเข้ามา ปกครองล้านนาไทย ทำให้นาฏศิลป์หรือการแสดงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือมีความหลากหลาย
ทำให้สามารถแบ่งลักษณะการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือได้เป็น ๓ ลักษณะ
๑.ลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น
ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
๒.ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า ไทยใหญ่ เงี้ยว
๓.ลักษณะ การฟ้อนแบบคุ้มหลวง เกิดขึ้นในคุ้มของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ซึ่งมีลักษณะการฟ้อนของภาคกลางผสมอยู่ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นต้น
![วà¸.à¸à¸¹ âà¹à¸à¸µà¸¢à¸à¹à¸«à¸¡à¹â à¸à¹à¸à¹à¸à¸à¸à¸±à¸à¸à¸²à¸¨à¸±à¸à¸¢à¸ าà¸à¹à¸à¹à¸à¸à¸´à¸à¸²à¸£à¹à¸à¸à¹à¸²à¸à¸à¸²à¸à¸¨à¸´à¸¥à¸à¹-à¸à¸à¸à¸£à¸µ ...](https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/images/article/news18116/n20180625185434_273033.jpg)
การแสดงพื้นเมือง ภาคใต้ ด้วยเหตุที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศ
มาเลเชีย ทำให้เกิดการผสมผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ จนทำให้นาฏศิลป์ และดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และพิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ
การแสดงของภาคใต้ ได้แก่
- หนังตะลุง เรียกว่า “หนัง” ในสมัยโบราณนิยมแสดงในงานนักขัตฤกษ์ และงานฉลอง
- โนรา นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล
- รองเง็ง เป็นการแสดงของชาวไทยมุสลิม เป็นการเต้นรำระหว่างหญิง-ชาย ในงามงคล
- ตารีกีปัส เป็นการรำพัด ซึ่งเกิดจากการผสมผสานกับการแสดงของมาเลเซีย
![à¸à¸²à¸£à¹à¸ªà¸à¸à¸ าà¸à¹à¸à¹ à¸à¸±à¸à¸à¸²à¸£à¸à¸ªà¸¡à¸à¸ªà¸²à¸à¸à¹à¸²à¸à¸¨à¸²à¸ªà¸à¸²à¹à¸¥à¸°à¸à¸§à¸²à¸¡à¹à¸à¸·à¹à¸ - Acteer Studio](https://www.acteerstudio.org/wp-content/uploads/2018/04/as-04.jpg)
การแสดงพื้นเมืองของ ภาคกลาง ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรม และเกษตรกรรม ประชาชนมีความเป็นอยู่สุขสบาย การแสดงหรือการละเล่น ที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะที่สนุกสนาน หรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน เช่น เพลงเรือ หรือเป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่
- รำโทน เป็นการรำ และการร้องของชาวบ้าน โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นการร้อง และการรำไปตามความถนัด
- รำกลองยาว เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดยมีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ
- ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน
![ภาà¸à¸à¸¥à¸²à¸ - à¸à¸²à¸£à¹à¸ªà¸à¸à¸à¸·à¹à¸à¸à¹à¸²à¸Thai](https://sites.google.com/site/karsaedngphunbanthai/_/rsrc/1483420776987/phakh-klang/rabum30.jpg?height=263&width=400)
การแสดงพื้นเมืองภาค อีสาน ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่นพวกไทยลาว ภูไทย ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่
- กันตรึม เป็นการแสดงเพื่อบูชาหรือบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- ฟ้อนภูไท
เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
- เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน
![à¸à¸²à¸£à¹à¸ªà¸à¸à¸ าà¸à¸à¸µà¸ªà¸²à¸ à¸à¹à¸à¸à¸à¸à¸à¸¶à¸à¸à¸±à¸§à¸à¸à¸à¸µà¹à¸à¸à¸à¸à¸§à¸²à¸¡à¸ªà¸à¸¸à¸à¸ªà¸à¸²à¸ :: Acteer Studio](https://www.acteerstudio.org/wp-content/uploads/2018/04/as-05.jpg)
ได้เนื้อหาสาระเยอะเลยครับ มีรูปภาพประกอบเพิ่มความน่าสนใจ
ตอบลบ