โขน


  โขน 

                   เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของหลากหลายประเทศ มีอิทธิพลมาจากอินเดียที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน  มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา


          โขน เป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์   คีตศิลป์ หัตถศิลป์    ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน


โขนไทย” มาจาก “เขมร” ? - ศิลปวัฒนธรรม

แต่โขนนั้นเป็นภูมิปัญญา เป็นวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จึงไม่เรียกว่ามรดกโลก และเรียกกันอีกอย่างว่า “มรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญา”

 

โขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1.โขนกลางแปลง

เป็นการแสดงโขนบนพื้นดิน กลางสนาม ไม่มีการสร้างโรงให้เล่นจากพระราชพงศาวดารปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ.2339 ในสมัยรัชกาลที่ 1


 2.โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว

เป็นการแสดงโขนในโรงที่มีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับนายโรงนั่ง แต่มีราวไม้พาดตามส่วนยาวของโรงให้ผู้แสดงเดินได้รอบราว ผู้แสดงจะนั่งบนราวไม้กระบอกแทนเตียงนั่ง


3.โขนโรงใน 

เป็นโขนที่ปรับปรุงอย่าง การเล่นละครได้การแสดงในโรง มีการรำการเต้น การพากย์และเจรจาตามแบบโขย และนำเอาเพลงที่ขับร้องและเพลงประกอบกิริยาต่างๆอย่างละครใน และระบำ มาผสมผสานร้อยกรองบทพากย์


ประเภทของโขน ประเภทของโขน การแสดงโขนสมัยแรกๆ คงจะเล่นกันกลาง ...

4.โขนหน้าจอ 

คือ การแสดงโขนหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว ทั้งสองข้างทำเป็นประตูสำหรับผู้แสดงเข้าออก ทางด้านขวาเขียนเป็นภาพพลับพลาของพระราม ด้านซ้ายเป็นภาพปราสาทราชวัง


5.โขนฉาก

เป็นการแสดงที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีการสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีคล้ายกับละครดึกดำบรรพ์มีลักษณะวิธีการแสดงคล้ายกับโขนโรงในแต่มีการเปลี่ยนฉากประกอบตามท้องเรื่อง


ผมก็เหมือนเด็กดนตรี นาฎศิลป์ไทย นั่นแหละครับ ที่รู้สึกตื่นเต้นดีใจอย่างสุดจะบรรยายได้ เมื่อทราบข่าวว่า “โขน” ของไทยเราได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ โดย ยูเนสโก


ในฐานะคนไทยคนหนึ่งและเป็นแฟนโขนเข้าเส้นเลือดคนหนึ่ง ดูโขนมาตั้งแต่เด็กๆ 

ขออนุญาตแสดงความยินดีอย่างออกหน้าออกตาอีกครั้งและขอขอบคุณทุกๆฝ่ายที่

ช่วยกันดำเนินการและผลักดันจน “โขน” ของเราได้รับการรับรองจาก ยูเนสโก ในที่สุด


ประวัติการแสดงโขน - เรื่องโขน